ลุ้น! ครม. เคาะบ้านล้านหลังเฟส 3 วงเงิน 20,000 ล้านบาท

การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม

เป็นประธานการประชุมในวันนี้มีวาระการพิจารณาที่น่าสนใจ ได้แก่กระทรวงการคลัง เสนอขออนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3) วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท โดยมีเงื่อนไขในการปล่อยกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเป็นวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 3% เป็นระยะเวลา 5 ปี

นอกจากนี้ เสนอให้พิจารณาปรับปรุงแผนบริการหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 1, เสนอให้พิจารณาร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่…) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินสนับสนุน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากภาครัฐในปีภาษี 2565

กระทรวงคมนาคม เสนอพิจารณาผลคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ของกรมการขนส่งทางบก
กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอพิจารณาผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุมน้ำชั้นที่ 1 บีเอ็ม เพื่อต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่ ของบริษัท หินอ่อน จำกัด ที่จังหวัดสระบุรี
กระทรวงยุติธรรม เสนอให้พิจารณาข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมปศุสัตว์เพื่อโอกาสในการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจประเทศอย่างเป็นธรรม, เสนอให้พิจารณาร่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ.2566-2570
กระทรวงมหาดไทย เสนอให้พิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎร์ด้วยระบบดิจิทัล (ฉบับที่..) พ.ศ…
กระทรวงแรงงาน เสนอให้พิจารณาร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จำนวน 3 ฉบับ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอขอให้อนุมัติจ่ายเงินค่าขนย้าย (ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) เป็นกรณีพิเศษให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝ่ายท้ายหลวง จ.อุดรธานี

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอให้พิจารณาทบทวนมติ ครม.เมื่อวันที่ 1 ต.ค.62 เรื่อง แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และเสนอแนวทางนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก
คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เสนอพิจารณาโครงการยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ให้มีศักยภาพเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1) และมีมาตรฐานโรงพยาบาลคู่สัญญาของประกันสังคม
คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ขอให้พิจารณาการโอนบรรดาอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และงบประมาณของบรรดาภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานพัฒนาธุรกรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่ พ.ร.บ.การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 ใช้บังคับ ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอขอให้อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 งบกลางรายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหารถยนต์หุ้มเกราะกันกระสุนทดแทนที่ใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อดำเนินโครงการจัดหากล้องบันทึกภาพและเสียงตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565
วาระเพื่อทราบที่น่าสนใจ ได้แก่

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เสนอขออนุมัติการดำเนินโครงการ Country Programme CP ระยะที่ 2 และการลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการต่ออายุโครงการ Country Programme ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา OECD
กระทรวงการต่างประเทศ เสนอการดำเนินการตามข้อมติคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับสาธารณรัฐเฮติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือภายใต้โครงการทุนการศึกษา Stipendium Hungaricum ประจำปี ค.ศ.2023-2025 ระหว่าง อว.กับกระทรวงการต่างประเทศและการค้า ฮังการี
คณะกรรมการท่องเที่ยวแห่งชาติ เสนอรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติประจำปี 2565
กระทรวงการคลัง เสนอรายงานผลการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลรุ่น L B236A เมื่อวันที่ 13 ม.ค.66

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) รายงานผลวิเคราะห์ค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจำปี พ.ศ.2565 (Corruption Perception Index:CPI 2022)
การลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและองค์กรการทางทะเลระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการตรวจสอบประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศภาคบังคับ

ข่าวอื่นๆ แผนโต ‘ซีอาร์จี’ นำทัพ ‘เคเอฟซี’ ลุยไซส์เล็ก สปีดธุรกิจทำเงินปี 66 สู่ 7,000 ล.

แผนโต ‘ซีอาร์จี’ นำทัพ ‘เคเอฟซี’ ลุยไซส์เล็ก สปีดธุรกิจทำเงินปี 66 สู่ 7,000 ล.

ปี 66 “ซีอาร์จี” วางหมากรบ “เคเอฟซี” ขยายร้านใหม่มากถึง 30 สาขา

ซีอาร์จี

ซึ่งเป็นจำนวนเยอะเป็นปีที่ 2 จากปกติเปิดเพียง 10-15 สาขาต่อปี ล่าสุดยังชูคอนเซปต์รักษ์โลกกับ “KFC Green Store” นำร่องที่โรบินสัน ราชพฤกษ์ ร้านใหญ่ มีอีวี สเตชั่น แยกขยะอาหารเหลือทิ้ง รับเทรนด์แรงความยั่งยืน
“เคเอฟซี” ยังคงเป็นร้านไก่ทอดขวัญใจของผู้บริโภค และเป็น Destination ที่กลุ่มเป้าหมายเข้าไปใช้บริการได้ทุกวัน ตอบโจทย์ทุกโอกาส

ภายใต้การฟื้นตัวของธุรกิจอาหารโดยรวม หมวดร้านอาหารบริการด่วนหรือ QSR ในกลุ่มไก่ทอดกลับมาเติบโตไม่ต่างกัน โดย ปิยะพงศ์ จิตต์จำนงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส QSR & Western Cuisine ผู้บริหารแบรนด์ เคเอฟซี ภายใต้การบริหารโดย บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด ให้มุมมองตลาดไก่ทอดโดยรวมเติบโตกว่า 20% และ “เคเอฟซี” ภายใต้ “ซีอาร์จี” บริหารเติบโตราว 25%

โมเมนตัมบริการนั่งรับประทานอาหารที่ร้านหรือ Die-in ยังเป็น “เครื่องยนต์” ที่จะผลักดันการเติบโตของปีหน้าด้วย

“นิยามธุรกิจร้านอาหารปีนี้คือทุกอย่างกลับสู่ภาวะปกติหรือ Normalization แต่ต่างแค่ช่องทางการใช้บริการ ส่วนปีหน้า Die-in จะเป็นเครื่องยนต์สร้างการเติบโตแบบชัดๆ มีปัจจัยหนุนคือผู้คนกลับมาพบเจอกัน สังสรรค์ นักท่องเที่ยวกลับมา ยิ่งจีนเปิดประเทศ น่าจะทะลักมาไทยมหาศาล”

ทั้งนี้ แผนขับเคลื่อนธุรกิจร้านเคเอฟซี รองรับการเติบโตปีหน้า บริษัทวางงบลงทุนราว 400 ล้านบาท เพื่อเปิดร้านใหม่ราว 30 สาขา และปรับปรุงสาขาเดิมอีก 30 สาขา โดยร้านใหม่จะเน้นโมเดล “ช็อป เฮ้าส์” มากขึ้น คือการใช้พื้นที่อาคารพาณิชย์ขนาด 1-2 คูหาเปิดร้าน มีที่นั่ง 30-50 ที่นั่ง เพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ขายสินค้าและบริการได้ 24 ชั่วโมง(ชม.) รวมถึงรูปแบบร้านเดี่ยวหรือสแตนอะโลน สัดส่วนราว 50% ที่เหลือเป็นรูปแบบอื่น

แผนโต ‘ซีอาร์จี’ นำทัพ ‘เคเอฟซี’ ลุยไซส์เล็ก สปีดธุรกิจทำเงินปี 66 สู่ 7,000 ล.ปิยะพงศ์ จิตต์จำนงค์

ร้านเคเอฟซีโมเดลช็อป เฮ้าส์ เปิดให้บริการที่แรกสาขาอินทามระ หรือย่านสะพานควาย ไม่มีบริการนั่งทาน เพื่อรองรับบริการเดลิเวอรี่ รูปแบบดังกล่าวยังนับรวมสาขาในสถานีบริการน้ำมัน(ปั๊ม)ด้วย โดยการลงทุนจะต่ำลงราว 40% เมื่อเทียบกับปกติ

“ปี 2566 เป็นปีที่ 2 ที่ซีอาร์จีเปิดเคเอฟซีเชิงรุก 30 สาขา จากปกติเราเปิดร้านใหม่ราว 10-15 สาขาต่อปีเท่านั้น ขณะที่การเปิดร้านรูปแบบช็อป เฮ้าส์ เมนไอเดียคือเพิ่มการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และยังช่วยสปีดการขยายสาขาได้เร็วขึ้นด้วย”

ขณะที่ปี 2565 บริษัททุ่มงบราว 300 ล้านบาท เปิดร้านใหม่ 30 สาขา ส่งผลให้สิ้นปีมีร้านให้บริการทั้งสิ้น 320 สาขา โดยล่าสุดสาขาใหม่ที่ โรบินสัน ราชพฤกษ์ มีการชูคอนเซปต์ “KFC Green Store” ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นเทรนด์มาแรงมาก

แผนโต ‘ซีอาร์จี’ นำทัพ ‘เคเอฟซี’ ลุยไซส์เล็ก สปีดธุรกิจทำเงินปี 66 สู่ 7,000 ล.จุดเด่นของร้านนอกจากสแตนอะโลนพื้นที่ 170-180 ตร.ม. ตัวอาคารออกแบบในสไตล์นอร์ดิก ให้ความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลาย และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ การใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีภายในร้านส่งเสริมแนวคิดเพื่อความยั่งยืน เช่น กระจกประหยัดพลังงานที่ป้องกันความร้อนผ่านกระจกในขณะที่ให้แสงส่องผ่านได้มาก การเลือกใช้ของตกแต่งร้านทำจากวัสดุรีไซเคิล ชุดพนักงานที่ตัดเย็บด้วยผ้าจากเส้นใยขวดพลาสติก มีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี สเตชั่น) การแยกขยะ นำเศษอาหารไปทำเป็นปุ๋ย เป็นต้น

การเปิดร้านคอนเซปต์ใหม่ ยังตอบโจทย์ Die-in ที่จะเป็นเครื่องยนต์เติบโตปีหน้าด้วย ซึ่งแบรนด์ต้องเน้นสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในร้านมากยิ่งขึ้น

นอกจากเปิดสาขา “เคเอฟซี” ยังมีการปรับเซ็ทเมนูใหม่ให้ผู้บริโภคจับจ่ายง่ายขึ้น และตอบไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ที่ต้องการบริโภคอย่างรวดเร็ว รวมถึงการพัฒนาเมนูใหม่ๆ สร้างสีสันกระตุ้นการบริโภคของลูกค้าด้วย

แผนโต ‘ซีอาร์จี’ นำทัพ ‘เคเอฟซี’ ลุยไซส์เล็ก สปีดธุรกิจทำเงินปี 66 สู่ 7,000 ล.สำหรับ “เคเอฟซี” ถือเป็นแบรนด์เรือธงของเครือซีอาร์จี การเปิดร้าน KFC Green Store สาขาราชพฤกษ์ เป็นสาขาลำดับที่ 983 ของ เคเอฟซี ประเทศไทย ขณะที่ภาพรวมของแบรนด์ “เคเอฟซี” ภายใต้ ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) มีร้านแตะ 1,000 สาขาเรียบร้อยจากแฟรนไชส์ทั้งสิ้น 3 ราย

ปี 2564 ซีอาร์จี สร้างรายได้เคเอฟซีราว 5,000 ล้านบาท ส่วนปี 2565 คาดการณ์ปิดยอดขาย 6,300 ล้านบาท เติบโตสูงกว่าเป้าหมายเดิมตั้งไว้ 6,100 ล้านบาท และ “เคเอฟซี” ทำเงินสัดส่วน 40% ให้กลุ่มซีอาร์จี แต่ทำเงิน 35% ให้กับ “ยัมฯ” อย่างไรก็ตาม การเดิมเกมรุกปี 2566 ซีอาร์จี วางเป้าหมายรายได้เคเอฟซีแตะเกิน 7,000 ล้านบาท